|
|
|
|
การจัดตั้งองค์กรหลัง พ.ศ. 2475
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 รัฐบาลสมัยนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นในอนาคต ที่เกิดขึ้นในอนาคตจึงได้ดำเนินนโยบายของชาติไว้อย่างแน่ชัดประกอบกับในระยะนั้นเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และประเทศไทย ได้รับผลกระทบกระเทือนด้วย ประชาชนจึงว่างงานกันมาก หน่วยงานของรัฐบาล ที่ปฎิบัติงานบริหารแรงงาน ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจลักษณะเป็นครั้งแรก คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้กำหนดนโยบายหลัก 6 ประการ ประการหนึ่งระบุว่า “จะต้องบำรุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจและหางานให้ราษฎรทุกคนทำ” เพื่อให้บรรลุนโยบายตามที่ระบุไว้นี้ รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักจัดหางาน พ.ศ. 2475 ขึ้นบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2475พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้สิทธิแก่เอกชนที่จะประกอบอาชีพในทางจัดตั้งสำนักงานรับจัดหางานให้แก่ประชาชนได้ โดยดำเนินงานและบริการเรียกค่าบริการจากประชาชน ผู้มาใช้บริการภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด และในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2475 รัฐบาลก็ได้ตรา พระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ.2475 ขึ้นบังคับใช้ พระราชบัญญัติ ฉบับนี้กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานกลางจัดหางาน ขึ้นในจังหวัดพระนคร และธนบุรี ทำหน้าที่จัดหางานให้แก่ประชาชนโดยไม่คิด
แผนกจัดหางาน พ.ศ. 2476
เพื่อให้มีการควบคุมการดำเนินงานจัดหางานของเอกชน และให้การดำเนินงานจัดหางาน ของสำนักงานกลางจัดหางานเป็นไปโดยเรียบร้อย และไม่เกิดความเสียหายแก่ประชาชนขึ้น รัฐบาลจึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2476 ขึ้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2476 พระราชกฤษฎีกา ฉบับนี้ ได้จัดตั้งแผนกจัดหางานขึ้นในกองทะเบียนกรมปลัดในปีเดียวกันนี้ รัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่างานจัดหางาน เป็นงานที่มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับกิจการด้านเศรษฐกิจ มากกว่างานกิจการทะเบียน จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาโอนแผนกจัดหางานในกระทรวงมหาดไทย มาขึ้นกระทรวงเศรษฐการ พ.ศ. 2476 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 และตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา แผนกจัดหางานก็ขึ้นอยู่กับกองสถิติพยากรณ์ กรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ
แผนกจัดหางานได้ดำเนินงานตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักจัดหางาน พ.ศ. 2475 และ พระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางาน ประจำท้องถิ่น พ.ศ. 2475 อย่างได้ผล ทำให้มีสำนักงานจัดหางานตั้งขึ้นในหลายๆ อำเภอเกือบทั่วราชอาณาจักร และสามารถหางานให้คนว่างงานทำได้เป็นจำนวนไม่น้อย ในปี พ.ศ. 2478 รัฐบาลจึงเห็นความสำคัญของงานด้านนี้มากขึ้นจึงได้พิจารณาปรับปรุงงาน ของแผนจัดหางาน และยกฐานะเป็นกองมีชื่อใหม่ว่ากองกรรมกร สังกัดกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ มี ร.ท.ณ เณร ตาละลักษณ์ หัวหน้าแผนกจัดหางานเดิมเป็น หัวหน้ากองกรรมกรคนแรก และได้แบ่งงานในกองกรรมกออกเป็น 3 แผนกคือแผนกทะเบียนแผนก หางาน และแผนกบรรเทาทุกข์
ในปี พ.ศ. 2479 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสอบสวนภาวะกรรมกร พ.ศ. 2479 หลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติกอง กรรมกร ก็มีงานเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก คือ การศึกษาตรวจตราดูแลสภาพการทำงานของกรรมกรอาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดแรกการ กำเนิดงาน “สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน”ก็ว่าได้นอกจากนั้นการช่วยเหลือผู้ใช้ไร้แรงงาน ให้มีที่ทำกินเป็นของตนเอง โดยเอกเทศ โดยวิธีการจัดให้เข้าไปอยู่ในนิคมกสิกรบ่อแก้ว อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์
298